หลายคนอาจจะเริ่มไม่ถูก ว่าช่วงอายุอย่างเรา ควรทำประกันอะไรบ้าง เรามีคำแนะนำมาให้เบื้องต้นนะคะ โดยเราจะทำการวิเคร์ความเสี่ยงของแต่ละช่วงอายุไว้ให้ด้วย เพื่อเป็นเหตุผลว่าเราควรทำประกันแบบไหน เริ่มกัน
ความเสี่ยง : ช่วงวัยเด็กร่างกายกำลังสร้างภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน และค่อยๆมีพัฒนาการของสมองและร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากกว่าวัยอื่น และพอเริ่มโตเป็นวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความอยากรู้อยากลองสิ่งต่างๆ หลายกิจกรรมอาจมีโอกาสให้เกิดอุบัติเหตุได้
ประกันที่เหมาะ
1.ประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุ เพื่อช่วงคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษา
ความเสี่ยง : ส่วนมากของคนในช่วงวัยเริ่มทำงาน มักจะไม่มีภาระหนี้สิน และยังไม่ต้องส่งเงินดูแลใคร จึงเป็นวัยที่กำลังสร้างฐานะ จึงต้องการให้เงินเติบโต แต่ยังคงมีความเสี่ยงสุขภาพอยู่ ถึงแม้จะมีสวัสดิการบริษัทอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองค่ารักษาโรคหนักๆ
ประกันที่เหมาะ (เรียงลำดับความสำคัญที่ควรมีจากมากไปน้อย)
1. ประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุ เพื่อช่วงคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษา
2. ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์(Saving) ที่ช่วยให้เก็บออมเงินได้ มีการเติบโตของเงินประกันที่เราจ่ายไป และยังได้ความคุ้มครองชีวิตด้วย และเหมาะกับคนที่ต้องการผลตอบแทนของเงินคืนแบบแน่นอน (เพราะกำหนดอัตราเงินคืนชัดเจน)
3. ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (Unit link) ที่เราสามารถเลือกแบ่งสัดส่วนประกันชีวิตกับการลงทุนได้ และเนื่องจากช่วงอายุนี้ เราไม่จำเป็นต้องมีทุนประกันชีวิตที่สูง จึงทำให้เงินประกันที่เราจ่ายสามรถเลือกลงทุนได้เยอะและมีโอกาสเติบโตได้สูงมากขึ้น แต่เหมาะกับคนที่ยอมรับความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุนรวมได้ (เพราะผลตอบแทนขึ้นกับการลงทุนจริง)
ความเสี่ยง : ในช่วงวัยสร้างครอบครัว มักจะเริ่มมีการสร้างภาระหนี้สิน เช่น กู้เงินซื้อบ้านหรือรถ และมีคนที่เราต้องดูแล เช่น ลูกที่ต้องเรียน หรือพ่อแม่เราที่เงินเกษียณอาจจะเริ่มหมด จึงเป็นวัยที่มีความเสี่ยงของชีวิตสูงสุด และเช่นเคย ความเสี่ยงสุขภาพก็ยังคงอยู่
ประกันที่เหมาะ (เรียงลำดับความสำคัญที่ควรมีจากมากไปน้อย)
1. ประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุ เพื่อช่วงคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษา
2. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) เป็นแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมที่สุดในช่วงนี้ เนื่องจากมีเงินทุนประกันที่สูง และจ่ายเบี้ยประกันต่ำ เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อการปิดความเสี่ยงชีวิตที่แท้จริง โดยสามารถเลือกระยะเวลาที่เหมาะสมกับความเสี่ยงได้ เช่น เลือกคุ้มครองแค่20ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เรายังต้องส่งเงินเลี้ยงดูลูกให้เรียนจบ
3. ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (Unit link) โดยที่เราเลือกสัดส่วนการประกันชีวิตมากขึ้นตามความเสี่ยงที่เรามี แต่ยังคงสถานะที่เงินประกันบางส่วนยังคงลงทุนได้ เพื่อให้เงินเติบโตให้เราใช้ยามเกษียณ
4. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) เป็นแบบประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองชีวิตที่จ่ายเบี้ยประกันสูงกว่าแบบชั่วระยะเวลา แต่เบี้ยประกันที่จ่ายจะไม่สูญเปล่า เนื่องจากเป็นประกันที่มีเงินคืน(ไม่น้อยกว่าเงินที่จ่ายแน่นอน) และยังสามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างมรดกให้ลูกหลานอีกด้วย
5. ประกันชีวิตแบบเงินบำนาญ (Annuities) เนื่องจากเป็นวัยที่จะต้องเข้าสู่วัยเกษียณ จำเป็นต้องเตรียมเงินใช้จ่ายเมื่อเกษียณ ประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำจึงเหมาะกับการซื้อในช่วงนี้ เพราะสามารถจ่ายเงินคืนให้เราในจำนวนที่แน่นอน
ความเสี่ยง : เป็นช่วงวัยที่ภาระต่างๆ เริ่มลดลง เพราะลูกเริ่มเข้าสู่วัยทำงานแล้ว หนี้สินที่ก่อไว้ก็เริ่มหมด ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองสูงอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุด อาจะเป็นช่วงที่สุขภาพของเราเริ่มแย่ เสียงต่อโรคภัยมากขึ้น
ประกันที่เหมาะ (เรียงลำดับความสำคัญที่ควรมีจากมากไปน้อย)
1. ประกันสุขภาพ เพื่อช่วงคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษา ถ้าไม่มีและสุขภาพยังดี ควรรีบมีเลย
2. ประกันโรคร้ายแรง ซึ่งเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่อาจจะมีสวัสดิการรักษาอยู่แล้ว แต่ต้องการมีเงินก้อนไว้ใช้จ่ายเพิ่มเติมในการรักษาโรคร้าแรงที่อาจจะเกิดในช่วงนี้ได้
จริงๆแล้ว การคิดว่าควรซื้อประกันแบบไหนดี เราจะย้ำเสมอว่า ควรเริ่มคิดจาก”ความเสี่ยง” ที่เรามี ซึ่งอาจจะต่างกันออกไปในแต่ละคน อาจจะไม่เกี่ยวกับช่วงอายุ ดังนั้น เนื้อหาในบทความนี้จึงเป็นแค่เพียงคำแนะนำที่เหมาะสมกับคนทั่วไปในความเห็นของตัวแทน